http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

จับตาโฆษณาแฝง! สภาผู้บริโภคจี้ กสทช. คุมเข้มรายการสื่อบนทีวี – วิทยุ

จับตาโฆษณาแฝง! สภาผู้บริโภคจี้ กสทช. คุมเข้มรายการสื่อบนทีวี – วิทยุ

วิกฤติโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเกินจริง – โฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์ – วิทยุ – ออนไลน์ สภาผู้บริโภคเรียกร้อง กสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังและกำกับดูแลเชิงรุก พร้อมเสนอให้ดาราและอินฟลูเอนเซอร์ตรวจสอบข้อมูลก่อนรับงานโฆษณา ป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค

กังวลการโฆษณาเกินจริง – ผิดกฎหมาย แพร่ระบาดในสื่อทุกช่องทาง

สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาผู้บริโภค กล่าวถึงการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายและอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ซึ่งปัจจุบันกลับมาเป็นปัญหาอีกครั้งในสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และช่องทางออนไลน์ การกระทำดังกล่าวไม่เพียงเป็นการหลอกลวงและเอาเปรียบผู้บริโภค แต่ถือว่าผิด ตามกฎหมายของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.ศ. 2558 เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

สื่อดังถูกตั้งคำถาม บทบาทในการสร้างความเข้าใจผิด

สุภิญญา ยกกรณีล่าสุดของบริษัทดิไอคอนกรุ๊ปขึ้นมาเป็นตัวอย่าง โดยระบุว่ามีสื่อโทรทัศน์หลายรายการ เช่น ‘ตี 10’ ‘คุยแซ่บ Show’ และ ‘ทูเดย์โชว์’ ถูกตั้งคำถามจากสังคมถึงบทบาทในการเป็นต้นเหตุของความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการโฆษณาแฝง การนำเสนอเนื้อหาที่เสมือนเป็นคอนเทนต์จริง แต่แท้จริงแล้วเป็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวด

“การกระทำของผู้มีอิทธิพลทางความคิดในรายการเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง เพราะมีผู้บริโภคที่หลงเชื่อและเข้าไปลงทุนกับบริษัทนี้เป็นจำนวนมาก” นางสาวสุภิญญา กล่าว และย้ำถึงความหละหลวมของ กสทช. ในการกำกับดูแลการโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์

เรียกร้อง กสทช. ตรวจสอบเชิงรุก

สภาผู้บริโภค จึงเรียกร้องให้ กสทช. มีบทบาทที่เข้มแข็งขึ้นในการเฝ้าระวังเชิงรุก ตรวจสอบและกำกับดูแลการออกอากาศ โดยเฉพาะรายการโทรทัศน์และวิทยุที่อาจมีการโฆษณาแฝง (Tie-in) อย่างไม่เหมาะสม รวมถึงปรับปรุงแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ชัดเจนในการตัดสินใจว่าเนื้อหารายการใดเป็นโฆษณา และเนื้อหารายการใดเป็นเนื้อหาจริง รวมถึงการแจ้งแนวปฏิบัติเหล่านี้ให้กับช่องโทรทัศน์หรือรายการต่าง ๆ นำไปปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดการระมัดระวังในการนำเสนอเนื้อหาที่อาจจะสุ่มเสี่ยงผิดกฎหมาย นอกจากนี้ สภาผู้บริโภค ยังเสนอให้ กสทช. ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ในการดำเนินคดีกับผู้ที่ละเมิดกฎหมาย เพื่อป้องกันการโฆษณาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค

ดารา – อินฟลูเอนเซอร์ ควรตรวจสอบข้อมูลก่อนรับงานโฆษณา

ประธานอนุกรรมการฯ สภาผู้บริโภค กล่าวถึงบทบาทของสมาคมโฆษณาและสมาคมผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงไทย รวมถึงองค์กรที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลการโฆษณาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยดาราและอินฟลูเอนเซอร์ที่รับงานโฆษณาควรตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด เพื่อป้องกันผลกระทบทางกฎหมายและสังคม

“นอกจากเรื่องการโฆษณาขายตรง หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ ที่ผ่านมาเราพบว่ามีการละเมิดสิทธิผู้บริโภคและเด็กผ่านสื่อโฆษณาต่าง ๆ รวมถึงการนำเด็กมาใช้ในการโฆษณาเกินความเหมาะสม ถือว่าเข้าข่ายละเมิดสิทธิของเด็กอย่างชัดเจน” นางสาวสุภิญญา กล่าว

สื่อออนไลน์ก็ไม่พ้นต้องเฝ้าระวัง

ในส่วนของการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ นางสาวสุภิญญา กล่าวด้วยว่า มีการใช้อินฟลูเอนเซอร์และบุคคลที่มีชื่อเสียงเพื่อโน้มน้าวผู้บริโภค ซึ่งมักมีการโฆษณาเกินจริงในลักษณะเดียวกัน จึงเสนอให้มีการกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการโฆษณา พร้อมทั้งเรียกร้องให้ภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมในวงการโฆษณา เพื่อป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภคในทุกช่องทาง

https://www.tcc.or.th/tie-in-advertising/



Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 21/10/2024
สถิติผู้เข้าชม1,800,491
Page Views2,067,051
« October 2024»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  
view