http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ระวังเบอร์แปลกโทรเข้ามาหลอกลวงให้โอนเงิน หรือหลอกให้กดลิงก์เพื่อติดตั้งโปรแกรมควบคุมโทรศัพท์

ระวังเบอร์แปลกโทรเข้ามาหลอกลวงให้โอนเงิน หรือหลอกให้กดลิงก์เพื่อติดตั้งโปรแกรมควบคุมโทรศัพท์
|
👉ทั้งนี้ ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) ยืนยันว่า แค่การรับโทรศัพท์ หรือการกดลิงก์เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้มิจฉาชีพดูดเงินในบัญชีของเราได้
.
แต่การรับโทรศัพท์ การกดลิงก์นั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นให้ “มิจฉาชีพ” สามารถ “หลอกลวง” เราได้ โดยต้องมีพฤติการณ์อื่นร่วมนั้นเอง
.
มิจฉาชีพมักจะใช้ 3 วิธีในการหลอกลวงเหยื่อ
1. พูดให้เหยื่อโอนเงินให้เอง
2. พยายามหลอกถามข้อมูลเหยื่อเพื่อนำข้อมูลไปใช้เข้าถึงบัญชีบน Application ของเหยื่อ
3. หลอกล่อให้เหยื่อติดตั้งโปรแกรมควบคุมมือถือเพื่อโอนเงินออกเอง
4. หลอกล่อให้เหยื่อเผลอกดรหัสนิรภัย หรือ ข้อมูลสำคัญสำหรับโอนเงิน
.
ดังนั้นสิ่งที่ “มิจฉาชีพ” จะกระทำกับ “เรา” เมื่อ “รับสายโทรศัพท์” คือ
1. พยายามสร้างความน่าเชื่อถือให้ตนเอง
2. พยายามสนทนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ท่านไม่มีสมาธิจดจ่อกับข้อความที่ปรากฏขึ้นบนโทรศัพท์
3. เมื่อท่านเริ่มเคลิ้มตามไปกับมิจฉาชีพ มิจฉาชีพจะใช้จังหวะนี้ในการหลอกถามข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อใช้ในการเข้าถึงแอปฯ บัญชีธนาคารของเราอีกที
.
👉 จากกรณีก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็น “สายชาร์จดูดเงิน”, “ลิงก์ดูดเงิน“, “QR Code ดูดเงิน” และในกรณีล่าสุดบนหน้าข่าวในช่วงนี้คือ “รับสายเพื่อดูดเงิน” ล้วนไม่เป็นความจริง มิจฉาชีพต้องดำเนินการอีกหลายขั้นตอนกว่าที่จะสามารถขโมยบัญชีของเหยื่อได้
.
แนวทางการป้องกัน
1. ไม่ดาวน์โหลดติดตั้ง รวมถึงกดลิงก์ใด ๆ โดยเฉพาะจากแหล่งที่ไม่รู้จักพร้อมให้ตรวจสอบลิงก์ก่อนกดทุกครั้ง
2. ไม่สแกนใบหน้ากับโปรแกรมจากแหล่งอื่น ๆ นอกเหนือจากแหล่งที่ได้รับการควบคุมและรับรองความปลอดภัยจากผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการที่เป็น Official Store (App Store สำหรับ iOS และ Play Store สำหรับ Android เป็นต้น)
3. เมื่อรู้ตัว หรือสงสัยว่ากำลังคุยกับมิจฉาชีพ ไม่แนะนำให้คุยต่อ เพราะอาจจะหลงเชื่อมิจฉาชีพ เนื่องจากมิจฉาชีพอาจจะมีข้อมูลจริงทำให้พูดคุยแล้วยิ่งหลงเชื่อ รวมไปถึงอาจเสี่ยงต่อการถูกนำเสียงไปใช้ปลอมเพื่อหลอกลวงผู้อื่นต่อ
4. หลีกเลี่ยงการใช้รหัสเดียวกันในการปลดล็อกอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะรหัสเข้าแอปพลิเคชัน Mobile Banking เพื่อป้องกันการเผลอกดรหัสโอนเงินโดยไม่ตั้งใจ
5. หากมีข้อสงสัยใด ๆ ให้โทรสอบถามที่เบอร์ทางการของหน่วยงานนั้นโดยตรง หรือโทร.ปรึกษาสายด่วนศูนย์ AOC 1441
.
ที่มา : Thai PBS Sci & Tech
https://www.facebook.com/tccthailand/?locale=th_TH

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 21/10/2024
สถิติผู้เข้าชม1,800,512
Page Views2,067,072
« October 2024»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  
view