http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย. เตือน! อันตรายเห็ดขี้ควายเป็นยาเสพติด หลอนประสาท

อย. เตือน! อันตราย "เห็ดขี้ควาย" เป็นยาเสพติด หลอนประสาท มีโทษหากผลิต ขาย ครอบครอง หรือเสพ

อย. ชี้ กระแสกิน “เห็ดขี้ควาย” เป็นอันตราย เนื่องจากเห็ดขี้ควายเป็นยาเสพติด ทำให้เคลิบเคลิ้ม บ้าคลั่ง ประสาทหลอน ผู้เสพมีโทษถึงจำคุก ส่วนผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือครอบครอง มีโทษทั้งจำและปรับ

นายแพทย์วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากข่าวการจับกุมผู้ต้องหาลักลอบเพาะเห็ดขี้ควายเพื่อจำหน่าย พร้อมเปิดคอร์สสอนวิธีการกิน อ้างตนเองสำเร็จนิพพานเป็นเทพเจ้า มีคลื่นความถี่สามารถรับรู้ทุกสิ่งบนโลกได้นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใยเกรงจะมีผู้เข้าใจผิดในเรื่องดังกล่าวมากขึ้นจนส่งผลให้เกิดอันตรายได้ ซึ่งเห็ดขี้ควายมีสารออกฤทธิ์ไซโลไซบีน (Psilocybine) เมื่อบริโภคเข้าไปจะเกิดอาการเมา เคลิบเคลิ้ม บ้าคลั่ง คลื่นไส้ อาเจียน ประสาทหลอน เห็นภาพแสงสีลวงตา และต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันสารไซโลไซบีนมีการศึกษาทดลองทางคลินิกเพื่อใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้า แต่ยังมีข้อมูลจำกัด และยังไม่ได้รับการอนุญาตจาก อย. รวมถึงยังไม่มีประเทศใดที่รับรองการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่มีสารไซโลไซบีนเป็นส่วนประกอบ

สำหรับประเทศไทย เห็ดขี้ควาย ถูกควบคุมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ผู้เสพมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อการค้าหรือทำให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 - 15 ปี และปรับตั้งแต่ 1 แสน ถึง 1.5 ล้านบาท ส่วนสารไซโลไซบีนจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และอาจก่อให้เกิดการนำไปใช้หรือมีแนวโน้มในการนำไปใช้ในทางที่ผิดสูง อย. จึงขอเน้นย้ำผู้บริโภคไม่ให้หลงเชื่อ มิเช่นนั้น จะมีโทษตามกฎหมายและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า ผู้บริโภคควรระมัดระวัง อย่าหลงเชื่อคำอวดอ้างเกินจริงตามกระแสข่าว และหากมีข้อสงสัยเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถสอบถามหรือแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line : @FDAThai, Facebook : FDA Thai หรือ E-mail : 1556@fda.moph.go.th ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11000 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ


https://www.fda.moph.go.th/news/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2/

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 11/08/2024
สถิติผู้เข้าชม1,787,748
Page Views2,054,135
« September 2024»
SMTWTFS
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930     
view