http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

รู้จัก ‘ธุรกิจขายตรง’ 3 แบบ ขาว – เทา – ดำ

รู้จัก ‘ธุรกิจขายตรง’ 3 แบบ ขาว – เทา – ดำ เส้นแบ่งถูกกฎหมาย - เข้าข่ายหลอกลวง

  • กรณี ดิไอคอลกรุ๊ป สร้างภาพลักษณ์เสียหายให้ธุรกิจขายตรงในวงกว้าง 
  • ในความเป็นจริงมีธุรกิจขายตรงจำนวนมากที่ทำธุรกิจถูกกฎหมาย จดทะเบียนถูกต้องและดำเนินการตามแผนการตลาดที่ได้รับอนุญาตจาก สคบ.แล้ว 
  • สศค.แบ่งธุรกิจขายตรงเป็น 3 ประเภทคือสีขาว คือถูกกฎหมาย 100% ธุรกิจสีดำคือเป็นธุรกิจผิดกฎหมายทำขายตรงแบบแชร์ลูกโซ่ 
  • ส่วนธุรกิจขายตรงสีเทาคือการแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ เป็นบริษัทขายตรงที่จดทะเบียนถูกต้อง ทำตามแผนการตลาดที่ได้รับอนุญาตแต่ภายหลังเปลี่ยนเป็นแผนการจ่ายผลตอบแทนแบบแชร์ลูกโซ่

    กระแสข่าวเรื่อง "The Icon Group" ซึ่งมีผู้เสียหายจากกรณีนี้เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดคำถามว่า “ธุรกิจขายตรง” นั้นเป็นธุรกิจที่สร้างความเสียหายกับคนที่เข้ามาทำธุรกิจแบบนี้ทั้งหมดจริงหรือไม่ เพราะอีกด้านหนึ่งก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ทำธุรกิจขายตรง ใช้ธุรกิจนี้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว โดยไม่ได้ทำผิดกฎหมายแต่อย่างใด

    ที่ผ่านมา “ธุรกิจขายตรง" ได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้บริโภค เพราะมีอิสระ ในการทำงาน สามารถซื้อสินค้าไปใช้ได้ในราคาถูก หรือจะนำไปขายอีกทอดเพื่อเป็นอาชีพเสริมหารายได้พิเศษ หรือจะทำเป็นอาชีพหลักก็ได้ ซึ่งนับวันจะมีผู้สนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนประกอบธุรกิจแนวนี้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจด้านขายตรงต่างงัดกลยุทธ์ เพื่อจูงใจผู้บริโภค เช่น เพิ่มชนิดของสินค้าหรือบริการที่หลากหลายให้ครอบคลุมกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากสนใจที่จะสมัครเป็นผู้ขายตรง

    ในเอกสารเรื่อง “รู้เท่าทัน การเงินนอกระบบ” ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) อธิบายว่าธุรกิจขายตรงนั้นถือว่าเป็นรูปแบบธุรกิจแบบหนึ่งซึ่งหมายถึงวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะเข้าถึงตัวผู้บริโภคโดยมีผู้ชายตรงที่เรียกชื่อตามกฎหมายว่า ผู้จำหน่าย อิสระ หรือตัวแทนขายตรง เป็นผู้นำสินค้า หรือบริการไปอธิบาย หรือสาธิตสรรพคุณหรือคุณภาพของสินค้าตามสถานที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงานของผู้บริโภค

    โดยไม่ต้องรอให้ผู้บริโภคเป็นผู้มาซื้อหาสินค้าอย่างปกติ ซึ่งต่างจากการจำหน่ายสินค้าในธุรกิจทั่วไปที่จะมีการจำหน่ายสินค้ายสินค้ากผู้ผลิตผ่านพ่อค้าคนกลาง จากนั้นสินค้าจึงจะเข้าถึงตัวผู้บริโภค

    ใครเป็นใครในธุรกิจขายตรง

    ผู้ประกอบธุรกิจขายตรง หมายถึง ผู้ผลิต ผู้นำเช้า ผู้จัดจำหน่าย ซึ่งใช้ระบบการจำหน่ายสินค้าหรือบริการด้วยวิธีการเสนอขายต่อผู้บริโภค ณ สถานที่ซึ่งมิใช่ตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการชนิดนั้น ๆ โดยการเสนอขาย อาจกระทำโดยผู้จำหน่ายอิสระ หรือตัวแทนขายตรง และอาจกำหนดรูปแบบได้หลากหลาย แต่ที่สำคัญคือต้องให้ความสำคัญกับการอบรมผู้ขายให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และรับผิดชอบต่อผู้บริโภคเพราะการขายที่ผิดวิธีย่อมส่งผลเสียต่อเจ้าของกิจการโดยตรง

    ผู้จำหน่ายอิสระ หมายถึง ผู้ขายที่มีใช่ลูกจ้าง มีใช่ตัวแทนของผู้ประกอบ ธุรกิจ แต่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบธุรกิจแล้วน้ำไปขายโดยรับคำตอบคำตอบแทนจากยอดขายที่ทำได้ การจ่ายผลตอบแทนเป็นไปตามที่กำหนดในแผนการจ่ายค่าตอบแทน เมื่อจะยกเลิกการเป็นผู้จำหน่ายอิสระก็สามารถขายสินค้ากลับคืนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงได้โดยวิธีที่กฎหมายกำหนด

    ตัวแทนขายตรง หมายถึง ผู้ที่ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงมอบหมายให้เป็นผู้นำสินค้าหรือบริการไปขาย โดยให้ค่าตอบแทนเป็นรายได้จากยอดขายที่ทำได้ ไม่มีฐานะเป็นลูกจ้างของผู้ประกอบธุรกิจ และรายได้นั้นต้องกำหนดชัดเจน ตัวแทนขายตรงไม่ต้องทนซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ

    คลังแบ่งธุรกิจขายตรงเป็น 3 สี 

    ทั้งนี้ สศค.ได้จำแนกธุรกิจขายตรงในไทยออกเป็น 3 สี คือขาว เทา และดำซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกันดังนี้

    1.ธุรกิจสายตรงสีขาว หมายถึง ธุรกิจขายตรงที่ถูกกฎหมาย เป็นบริษัทขายตรงที่จดทะเบียนถูกต้องและดำเนินการตามแผนการตลาดที่ได้รับอนุญาต จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีลักษณะดังนี้

    • เป็นบริษัทสนใจที่จะขายสินค้า
    • สินค้าต้องดี มีคุณภาพ สามารถขายตัวเองได้
    • ราคาขายเหมาะสมกับคุณภาพ
    • มีการฝึกอบรมวิธีการขายสินค้า การสาธิต
    • การใช้ สินค้าหรือให้สินค้าตัวอย่างไปทดลอง เพื่อจะได้บอกลูกค้าได้ถูกต้อง
    • เน้นบริการหลังการขาย

    2.ธุรกิจขายตรงสีดำ หมายถึง ธุรกิจขายตรงที่ผิดกฎหมาย เป็นบริษัทขายตรงที่อ้างว่าได้รับอนุญาต ใช้แผนการจ่ายผลตอบแทนแบบแชร์ลูกโซ่ มีลักษณะดังนี้

    • อ้างว่าจดทะเบียนกับ สคบ. แล้ว
    • ชักจูงให้เห็นถึงผลตอบแทนที่จะได้รับในอนาคตอันใกล้จากการชักชวนให้คนมาสมัครเป็นสมาชิกเพิ่ม
    • ใช้วิธีการหมุนเวียนเงินจากสมาชิกใหม่มาจ่ายสมาชิกเก่าในลักษณะแชร์ลูกโซ่

    3.ธุรกิจขายตรงสีเทา หมายถึง ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ เป็นบริษัทขายตรงที่จดทะเบียนถูกต้อง ทำตามแผนการตลาดที่ได้รับอนุญญาตแต่ภายหลังเปลี่ยนเป็นแผนการจ่ายผลตอบแทนแบบแชร์ลูกโซ่ หรือใช้ทั้งสองแผน

    มีลักษณะดังนี้

    • จดทะเบียนจาก สคบ. ถูกต้องตามกฎหมาย ทำตามแผนที่ได้รับอนุญาต
    • เพิ่มแผนการตลาดแบบแชร์ลูกโซ่ หรือเปลี่ยนแผน มาเป็นแบบแชร์ลูกโช โดยไม่ได้ขออนุญาตจาก สคบ.

    กลยุทธ์ขายตรงแฝงแชร์ลูกโซ่

    นอกจากนี้ยังมี ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ (สีเทา)ด้วยวิธีการขายสินค้าในเชิงรุกตามที่ได้กล่าวข้างต้น ทำให้มีจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่ในธุรกิจขายตรงใช้กลยุทธิ์ในการแนะนำสินค้าที่เป็นเท็จหรือเกินความจริงหรือใช้วิธีกระตุ้นให้ผู้บริโภคต้องการที่จะได้ผลประโยชน์จำนวนมากในระยะเวลาอันสั้นในลักษณะของแซร์ลูกโซ่ ทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าหรือบริการโดยไม่จำเป็น หรือต้องซื้อเพราะถูกแรงกดดันจากผู้ขาย โดยมีผู้บริโภคจำนวนมากที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำในลักษณะดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

    ผู้ประกอบธุรกิจประเภทนี้จะใช้สินค้าที่ผู้บริโภคไม่คุ้มคุ้นเคยในการแอบอ้างทำธุรกิจขายตรง และใช้วิธีการชักชวนให้ประชาชนมาสมัครเป็นสมาชิกเข้าร่วมเป็นเครือข่าย และสัญญาว่าจะให้ประโยชน์ตอบแทนจากการชักจูงผู้อื่นให้เข้ามาร่วมเป็นเครือข่าย รวมทั้งแสดงให้ผู้ถูกชักจูงเห็นว่าจะได้รับเงินหรือกำไรมากกว่าเงินที่ได้ลงทุนไป เมื่อผู้ประกอบธุรกิจระดมทุนได้ตามที่ต้องการแล้วก็จะปิดกิจการหลบหนีไป

    ประชาชนซึ่งหลงเชื่อและสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทเหล่านี้จะได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าว และทำให้ประชาชนมองภาพลักษณ์ของธุรกิจขายตรงไปในเชิงลบ เป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงที่สุจริตได้รับผลกระทบในการประกอบธุรกิจไปด้วย

    ส่องกฎหมายกำกับธุรกิจขายตรง

    ทั้งนี้ปัจจุบันหน่วยงานที่กำกับดูแลธุรกิจขายตรงคือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2555 โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งกระทรวงการคลังได้มีการออกกฎหมายไว้ได้แก่  กฎหมายที่เกี่ยวข้องพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527

    โดยกำหนดว่า มาตรา 4 เป็นการหลอกลวงประชาชนโดยชักชวนให้สมัครสมาชิกทำธุรกิจขายตรง และนำเงินมาลงทุนและเน้นให้หาคนมาสมัครสมาชิก โดยจะได้ผลตอบแทนจากการหาคนมาสมัครสมาชิกมิได้เน้นขายสินค้าหรือบริการ

    มาตรา 5 เป็นความผิดเกี่ยวกับการโฆษณาชักชวนให้ประชาชนมาสมัครสมาชิกและนำเงินมาลงทุนฯ ตามลักษณะของมาตรา 4

    มาตรา 12 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 4 หรือมาตรา 5  ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่

    ส่วนพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2555 มาตรา 19 ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจขายตรงหรือในการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงโดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าวซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น

    มาตรา 20 ห้านมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจขายตรง เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หากฝ่าฝืนมีโทษผิดทั้งอาญาและโทษปรับเช่นกัน

    https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1149548




 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 21/10/2024
สถิติผู้เข้าชม1,800,494
Page Views2,067,054
« October 2024»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  
view