http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โรคไต ห้ามกินอะไร

เป็นโรคไต ห้ามกินอะไร แล้วควรกินอะไร

โรคไต เป็นโรคที่คนไทยหลายคนกำลังประสบพบเจอ เป็นโรคที่เกิดจากอาหารการกินที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และไม่ถูกหลักโภชนาการ การทานอาหารที่ไม่มีความสมดุล ทานบางอย่างมากเกินไป สะสมนานวันเข้า สุดท้ายอาจเป็นโรคไตได้

แต่นอกจากอาหารเค็มแล้ว ยังมีอีกหลายอย่างที่คนเป็นโรคไต หรือที่กำลังฟอกไตอยู่ควรระวัง 

ฟอสฟอรัส ตัวอันตรายสำหรับผู้ป่วยโรคไต

นอกจากโซเดียมที่เป็นตัวการสำคัญของโรคไต และความดันโลหิตสูงแล้ว ยังมีฟอสฟอรัสอีกตัวที่จะทำให้อาการของโรคไตแย่ลง เพราะเมื่อไตของเรากำลังเสื่อม ก็จะมีความสามารถในการกรองเอาสารอาหารประเภทฟอสฟอรัสออกมาได้น้อยลง เพราะฉะนั้นก็แปลว่า ทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสเข้าไปมากเท่าไร มันก็สะสมอยู่ในร่างกายไม่ออกไปไหนเสียที ทั้งที่จริงๆ แล้ว คนที่ไตทำงานปกติ ไตจะกรองเอาสารอาหารที่เกินความจำเป็นต่อร่างกายออกให้ แต่ทีนี้พอฟอสฟอรัสไม่ยอมออกไปเลย ก็เลยทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

ฟอสฟอรัส ทำร้ายร่างกายผู้ป่วยโรคไตได้อย่างไร

ผู้ป่วยโรคไตที่ได้รับการแจ้งจากแพทย์ว่า กำลังอยู่ในภาวะฟอสฟอรัสในเลือดสูง สังเกตอาการได้ง่ายๆ คือจะรู้สึกผิวหนังดำคล้ำมากขึ้น คันยิบๆ ตามตัวจนรู้สึกรำคาญ หรือหากเป็นหนักๆ นานเข้า อาจถึงขั้นกระดูกเปราะ หรือหักได้ง่ายเลยทีเดียว

นอกจากนี้อาจมีอาการต่อมพาราไทรอยด์โต และซ้ำร้าย อาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่ใช้ในการฟอกเลือด สำหรับคนที่กำลังฟอกไตอยู่ได้

งดฟอสฟอรัสไปเลยดีไหม

ฟอสฟอรัส ไม่ใช่สารอาหารที่ให้แต่โทษเพียงอย่างเดียวนะคะ เพราะจริงๆ แล้ว ฟอสฟอรัสยังช่วยลดอากสในการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดต่างๆ ได้เหมือนกัน แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไต ควร “จำกัด” การทานอาหารที่มีฟอสฟอรัส เพื่อไม่ให้มีปริมาณฟอสฟอรัสสะสมอยู่ในร่างกายมากจนเกินไป

อาหารที่ผู้ป่วยโรคไต ควรหลีกเลี่ยง (นอกจากอาหารรสจัดแล้ว ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง)

  • ไข่แดง
  • เนื้อสัตว์ติดมัน
  • ถั่วต่างๆ รวมถึงธัญพืชจำพวก งาดำ งาขาว
  • ผลิตภัณฑ์จากนมวัว เช่น ชีส โยเกิร์ต ไอศรีมที่ทำจากนม
  • ข้าวกล้อง
  • บะหมี่
  • ขนมปังโฮลวีต
  • ขนมเบเกอรี่ต่างๆ
  • ผักสีเข้ม เช่น คะน้า บล็อกโคลี่ แครอท ผักโขม กะเพรา โหระพา ขี้เหล็ก ชะอม ฟักทอง มะเขือเทศ
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชาเขียวใส่นม น้ำอัดลม โกโก้/ช็อคโกแลต
  • ขนมไทยที่ทำจากไข่แดง เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง
  • สังขยา ขนมหม้อแกง คัสตาร์ด
  • อาหารที่ผู้ป่วยโรคไต ควรทาน (ถ้าให้จำง่ายๆ มองหาอาหารที่มีสีจืดๆ สีไม่เข้ม)

    • ไข่ขาว
    • ปลา
    • เนื้อหมู ไก่ (ที่ไม่ติดมัน)
    • น้ำเต้าหู้ที่ทำสดๆ น้ำนมข้าวที่ไม่ปรุงแต่ง
    • ข้าวขาว
    • เส้นหมี่ เส้นเล็ก วุ้นเส้น
    • ผักสีอ่อน เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ฟัก มะเขือยาว มะเขือเปราะ มะระ ผักบุ้ง (การนำไปลวก หรือต้มก่อนทาน ก็จะช่วยลดฟอสฟอรัสในผักได้)
    • น้ำขิง
    • ชาไม่ใส่นม
    • น้ำหวาน
    • เมอแรงค์ (ทำจากไข่ขาว) ซาหริ่ม ขนมชั้น ลอดช่อง วุ้น

    ถึงแม้อาหารเหล่านี้จะทานได้ แต่ก็ไม่ควรทานจนมากเกินไป ควรรักษาสมดุลของอาหารให้ดี และทานอาหารให้หลากหลาย ไม่ซ้ำซากจำเจเหมือนเดิมในทุกๆ วัน ทุกๆ มื้อ เพื่อให้ได้สารอาหารที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

    นอกจากนี้ ใครที่ต้องทานยาจับฟอสฟอรัส ก็อย่าลืมทานพร้อมอาหารอย่างสม่ำเสมอด้วย ช่วยให้ฟอสฟอรัสไม่สูงได้เป็นอย่างดี ถ้าเราควบคุมปริมาณฟอสฟอรัสในเลือดได้ อาการโรคไตของเราก็จะดีขึ้นตามลำดับ โรคไตสู้ได้ ไม่ต้องกลัวค่ะ

    https://www.sanook.com/health/7389/

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 11/08/2024
สถิติผู้เข้าชม1,788,424
Page Views2,054,820
« September 2024»
SMTWTFS
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930     
view