http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ซองยา ต้องมีชื่อยา

ซองยา ต้องมีชื่อยา

เชื่อว่าอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตเราอาจไม่สบายจนต้องพบแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อซื้อยารับประทานเอง!!

          การใช้ยาฟุ่มเฟือยและไม่เหมาะสม ถือเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยขณะนี้ แต่ละปียอดค่าใช้จ่ายการใช้ยาคนไทยยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นเป็นร้อยละ 42.80 ของรายจ่ายด้านสุขภาพทั้งหมด ซึ่งสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีค่าใช้จ่ายด้านยาเพียง ร้อยละ 10-20 เท่านั้น

          แม้ว่าประเทศไทย จะถือว่าสามารถเข้าถึงยาได้สูง แต่ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยร้อยละ 18-30 ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยปัญหาอันเนื่องจากยา ทั้งที่สามารถป้องกันได้ !!

          สิทธิผู้บริโภค เป็นคำที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านได้รับการพูดถึงอย่างมาก ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า บริการอย่างรอบด้านซึ่ง "ยา" ก็ไม่ได้เป็นข้อยกเว้น

          ในประเด็นสิทธิด้านยา ถือว่าขณะนี้ประชาชนยังรับรู้สิ่งที่ควรทราบน้อย เช่น ชื่อยา สรรพคุณยาวิธีการใช้ยา และข้อระวังการใช้ยาโดยเฉพาะข้อมูลจากสถานการณ์ยาจากสถานบริการสาธารณสุขเอกชน ร้านขายยา

          เมื่อเร็วๆนี้ เครือข่ายเภสัช -ทันตะบุคลากรเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ร่วมกับ เครือข่ายเภสัชกรชุมชนคุ้มครองผู้บริโภค จ.ลพบุรี เครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชน จ.ลพบุรี และเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค จ.สมุทรสงคราม ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)  ได้ระดมความคิดและร่วมหารือ ถึงประเด็นสิทธิที่ผู้ป่วยควรได้รับทราบเมื่อได้รับยา เพื่อย้ำว่า "ซองยา ต้องมีชื่อยา"

          เนื่องจาก สิ่งที่เป็นปัญหา คือ คลินิกร้านขายยา และสถานพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ข้อมูลยาแก่ผู้ป่วยอย่างเพียงพอ พบว่าในซองยาส่วนใหญ่จะมีเพียงแค่ขนาด และวิธีใช้แต่ไม่มีชื่อยาในฉลากยา

การไม่ทราบชื่อยา ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ตามมาหลายอย่าง คือ

1. การแพ้ยาซ้ำ เมื่อแพ้ยา สิ่งที่ต้องทำคือไม่ใช้ยาดังกล่าวซ้ำ เพราะจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่อันตรายการไม่ทราบชื่อยา ทำให้ไม่สามารถบอกแพทย์ที่รักษาหรือป้องกันตนเองเพื่อไม่ให้รับยาซ้ำได้ ซึ่งเสี่ยงอันตรายถึงตายได้

2. การได้ยาเกินขนาด ในกรณีที่มีการรับยาจากคลินิกหรือร้านขายยาหลายๆแห่ง หากไม่ทราบชื่อยา ก็ทำให้จะเกิดโอกาสที่จะรับยาชนิดเดียวกันซ้ำทำให้เสี่ยงต่อการรับยาเกินขนาดได้ หรือ ทำให้ต้องใช้ยาที่แพงขึ้นเพราะไม่ทราบประวัติการใช้ยาที่ใช้มาก่อน

3. สิ้นเปลือง เพราะผู้ป่วยบางราย เมื่อรับยาจากที่ใดแล้วอาการดีขึ้น ก็มักจะกลับไปรับยาซ้ำ หากมีการย้ายถิ่นฐาน ก็ไม่สามารถเปลี่ยนที่ซื้อยาได้ เพราะไม่ทราบชื่อยา ก็จำเป็นต้องกลับไปที่เดิมเพื่อให้ยาตัวเดิมที่ใช้แล้วมีอาการดีขึ้น

          ภก.เด่นชัย ดอกพอง เครือข่ายเภสัช-ทันตะบุคลากรเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน อธิบายถึงผลการสำรวจ เรื่อง "การให้ข้อมูลยาของคลินิกและร้านขายยาแก่ผู้ป่วย จังหวัดศรีสะเกษ"เพื่อศึกษาสถานการณ์การให้ข้อมูลยาของคลินิกแพทย์และร้านขายยา ทำให้ได้ทราบว่า ในคลินิกและร้านขายยาที่ทำการสำรวจทั้งหมด 20 แห่ง พบว่า คลินิก 8 แห่ง และร้านขายยา10 แห่ง ไม่ให้ชื่อยาในฉลากยา โดยระบุเพียงขนาด และวิธีใช้เท่านั้น  ในขณะที่มีคลินิกและร้านขายยาเพียงอย่างละ 1 แห่ง เท่านั้นที่ระบุชื่อยาในฉลากยา และส่วนใหญ่ก็มิได้ให้คำแนะนำผลข้างเคียง/อาการไม่พึงประสงค์ ข้อควรระวัง และการปฏิบัติตัวขณะใช้ยา

          "เมื่อเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลรัฐ จะพบว่ามีการใส่ชื่อยาสามัญ หรือ ชื่อทางการค้าเสมอซึ่งไม่ใช่เรื่องยากหากคลินิก หรือ ร้านขายยาจะทำแต่ส่วนใหญ่จะอ้างว่าไม่มีเวลาหรือยากที่จะปฏิบัติในอนาคตการแก้ปัญหานี้จะทำได้โดยทำให้เกิดสมุดบันทึกการรักษาการใช้ยาประจำตัวผู้ป่วย หรือ สมาร์ทการ์ด ไม่ว่าจะรับยาจากไหนก็ต้องมีประวัติบันทึกไว้เพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วยทุกคน"

สิ่งที่ประชาชน ควรได้รับจากคลินิกแพทย์และร้านขายยาเมื่อต้องรับยาเพื่อให้ใช้ยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย คือ

1.ชื่อยาเป็นภาษาไทยหรือชื่อภาษาอังกฤษ เป็นชื่อสามัญทางยาหรือชื่อการค้า

2.ข้อบ่งใช้ของยาในแต่ละตัวว่ามีคุณสมบัติในการรักษาอย่างไร

3.ขนาดและวิธีใช้เพื่อบอกปริมาณยาที่ใช้วิธีการบริหารยาเพื่อให้ยาเข้าสู่ร่างกายอย่างมีประสิทธิผลในการรักษาที่ดี

4.ผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยา

5.ข้อควรระวังและข้อควรปฏิบัติในขณะใช้ยา6.การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้ยาใช้ยาแน่นอนว่าถ้าปัญหาเหล่านี้มิได้รับการแก้ไข ย่อมทำให้ประชาชนผู้บริโภคเสี่ยงต่อการได้รับความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยา เพราะมีข้อมูลไม่เพียงพอ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงการเปลี่ยนยาบ่อยๆ ใช้ยาซ้ำซ้อนกลายเป็นปัญหาการใช้ยาฟุ่มเฟือย ไม่เหมาะสมสุดท้าย ปัญหาก็ตกไปเป็นของทุกคน คือ ภาระค่ายาของประเทศที่สูงขึ้นซึ่งจะกระทบต่อทุกคนในที่สุด

          นอกจากการทำให้ผู้ให้บริการคำนึงถึงสิทธิของผู้บริโภค ในส่วนผู้บริโภคเอง ก็ต้องพิทักษ์สิทธิของตนเอง ว่า มีสิทธิที่จะทราบชื่อยาไม่ว่าจะเป็นชื่อสามัญหรือ ชื่อทางการค้า มีสิทธิที่จะทราบผลข้างเคียงจากการใช้ยา หรือ การรับประทานยาไม่ครบ เพื่อความปลอดภัยของตนเอง

          ภก.เด่นชัย ยังอธิบายให้ฟังว่า แผนในอนาคตจะเร่งทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใส่ใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อหาทางแก้ไข เช่น การออกข้อบังคับประกาศ หรือ แนวทางอื่นใด นอกจากนี้ จะรณรงค์ด้วยการกระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภค รับทราบสิทธิเพื่อปกป้องความปลอดภัยของตนเอง

 ที่มา : http://www.ocpb.go.th/show_news.asp?id=1380

  

 

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 11/08/2024
สถิติผู้เข้าชม1,787,781
Page Views2,054,168
« September 2024»
SMTWTFS
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930     
view