http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ขายตรงกับแชร์ลูกโซ่ต่างกันอย่างไร?

"ธุรกิจขายตรง" VS "แชร์ลูกโซ่" เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

เช็กจุดต่าง "ธุรกิจขายตรง" กับ "แชร์ลูกโซ่" ข้อสังเกตที่ควรรู้ ก่อนตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่ประสงค์ดี!

ขายตรง หรือ Direct Selling คือ การขายและการทำตลาดให้กับผู้บริโภคโดยตรง เรียกได้ว่าเป็นการขาย "แบบตัวต่อตัว" ณ ที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ทำงานของผู้บริโภค โดยผ่านตัวแทนขายตรงหรือผู้จำหน่ายอิสระชั้นเดียวหรือหลายชั้น อย่างไรก็ตามไม่รวมถึงนิติกรรมที่กำหนดในกฎกระทรวง

สำหรับวิธีการขายตรงในประเทศไทยมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

1. ขายตรงแบบชั้นเดียว (Single level marketing) หมายถึง ผู้จำหน่ายจะเน้นการนำสินค้าไปขายให้กับผู้บริโภค เพื่อสร้างผลงานตามยอดขายที่บริษัทกำหนด โดยได้ผลตอบแทนตามเกณฑ์ของผลงาน จากยอดขายสินค้าตามที่บริษัทกำหนด

2. ขายตรงแบบหลายชั้น (Multi level marketing) หมายถึง การสร้างเครือข่ายผู้ทำธุรกิจหรือสมาชิก โดยจะมีรายได้จากยอดจำหน่ายสินค้ารวมจากผลงานของตัวเองและทีมงาน

อย่างไรก็ตาม การขายตรงในบางครั้งยังมีการชักชวนให้ผู้ซื้อร่วมทำธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่าย จึงเกิดภาพจำต่อธุรกิจนี้ว่าเป็น "ธุรกิจแชร์ลูกโซ่" ในจุดนี้เองที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิด เพราะหากทำธุรกิจขายตรงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะไม่ใช่แชร์ลูกโซ่ อีกทั้งจะมีการจัดส่วนแบ่งและกำไรอย่างชัดเจน

โดยบริษัทที่จะประกอบธุรกิจขายตรงจะต้องยื่นขอจดทะเบียนกับ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. (กองขายตรงและตลาดแบบตรง) ก่อนทำธุรกิจ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย ทั้งนี้ ผู้อ่านสามารถตรวจสอบรายชื่อบริษัทที่จดทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ของ สคบ.

ขายตรง VS แชร์ลูกโซ่ :

คราวนี้หากจะถามว่า แล้ว "ธุรกิจขายตรง" ต่างกับ "ธุรกิจแอบแฝง" (ธุรโกง) หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อ "แชร์ลูกโซ่" อย่างไร ทีมข่าวฯ ได้ติดต่อไปยัง สมาคมการขายตรงไทย ได้รับข้อมูล ดังนี้

*ธุรกิจขายตรงที่ถูกต้อง*

1. ค่าธรรมเนียมในการสมัครต่ำ เงินค่าสมัครจ่ายเพื่อคู่มือความรู้ เอกสารฝึกอบรม และสินค้าตัวอย่างเท่านั้น

2. จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิดที่มีคุณภาพสูง มียอดขายมาจากการจำหน่ายสินค้าได้ซ้ำอีกเรื่อยๆ และความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ บริษัทจะทุ่มเทเงินจำนวนมากเพื่อการวิจัยค้นคว้าและพัฒนาคุณภาพสินค้า

3. รับประกันคุณภาพความพอใจของสินค้าโดยการคืนเงิน ลูกค้าสามารถเปลี่ยนหรือคืนสินค้ากับบริษัทได้เมื่อต้องการภายในระยะเวลาที่เหมาะสม

4. ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจระยะยาว สิ่งนี้สำคัญมากเพราะบริษัทมีความรับผิดชอบต่อผู้ขายซึ่งเป็นผู้ที่ดำเนินธุรกิจอย่างแท้จริง

5. การจ่ายผลตอบแทนรายได้และตำแหน่ง จะขึ้นอยู่กับการทำงานของผู้ขาย นั่นหมายถึงรายได้จะมาจากยอดขายที่ขายสินค้าได้

6. การก่อตั้งธุรกิจขึ้นอยู่กับการขายสินค้าคุณภาพ ซึ่งคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป

7. มีผู้ขายอิสระที่อาศัยการขายสินค้าเพื่อสร้างรายได้

8. มีกฎระเบียบที่เข้มงวดในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะมีข้อห้ามมิให้ผู้ขายเก็บตุนสินค้า

9. ผู้ขายจะเน้นการขายสินค้าและบริการ

10. ธุรกิจถูกต้องตามกฎหมายและเป็นการขายสินค้าอีกรูปแบบหนึ่ง ที่นอกเหนือจากการขายตามห้าง ซึ่งผู้บริโภค นักขายตรง และบริษัทขายตรงก็ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย

*ธุรกิจแอบแฝง (ธุรโกง) / แชร์ลูกโซ่ / ระบบพีระมิด*

1. ค่าธรรมเนียมจากการสมัครสูง ผู้สมัครจะถูกหลอกให้จ่ายค่าฝึกอบรม และซื้อสินค้าเกินความต้องการ ผลกำไรของระบบพีระมิดส่วนใหญ่จะมาจากการรับสมัครสมาชิก

2. ไม่สนใจที่จะจำหน่ายสินค้าคุณภาพ สินค้าส่วนใหญ่จะมีคุณภาพต่ำและได้ผลกำไรสูง รายได้จะมาจากการรับสมัครสมาชิกใหม่ ซึ่งจะถูกบังคับให้ซื้อสินค้าที่มีราคาสูงเป็นจำนวนมาก

3. ไม่มีนโยบายรับซื้อสินค้ากลับคืน เพราะนโยบายนี้จะทำให้ระบบพีระมิดล้มได้

4. ร่ำรวยในเวลาอันรวดเร็ว (Get-rich-quick scheme) ผู้เข้าร่วมจำนวนมากที่ฐานของพีระมิดจะเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่คนไม่กี่คนที่อยู่ในระดับจุดยอดของพีระมิด ซึ่งธุรกิจรูปแบบนี้ไม่สามารถอยู่ได้ยาวนาน

5. ตำแหน่งในระบบสามารถซื้อได้

6. ระบบนี้ไม่เน้นการขายสินค้าให้กับผู้บริโภค แต่ผลกำไรจะมาจากสมาชิกที่สมัครใหม่ ซึ่งพวกเขาจะต้องซื้อสินค้าเก็บตุน ไม่ใช่เพราะสินค้ามีประโยชน์หรือมีราคาดี แต่ถูกบังคับให้ซื้อตามระบบ สมาชิกใหม่จะรับภาระกับสินค้าที่ตนขายไม่ได้ และเมื่อระบบพีระมิดนี้ล้มพวกเขาจะไม่ได้รับเงินลงทุนกลับคืนเลย

7. ฉ้อฉลหลอกลวงคนให้เข้ามาในระบบ

8. ผู้เข้าร่วมจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการสมัครที่สูง หรือจ่ายค่าสินค้าที่ถูกบังคับให้ซื้อในตอนที่สมัคร

9. ในระบบนี้จะเน้นการรับสมัครสมาชิกใหม่เป็นหลัก และบังคับให้ซื้อสินค้าเมื่อเริ่มสมัคร แต่ไม่สนใจการขายสินค้าจริง ๆ หรือบริการหลังการขาย

10. เป็นระบบที่ผิดกฎหมายในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และหลายประเทศที่พัฒนาแล้วในเอเชีย

ธุรกิจการขายตรงแอบแฝงแบบ 'แชร์ลูกโซ่' ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5-10 ปี และปรับตั้งแต่ 500,000 - 1,000,000 บาท

หากพบเห็นหรือถูกชักชวนลงทุนที่สงสัยว่าจะเป็นแชร์ลูกโซ่ สามารถแจ้งเบาะแสไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร.1359

- กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) โทร.1202

- กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โทร.1441

- แจ้งความออนไลน์ได้ที่ เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com

ท้ายนี้การลงทุนทุกรูปแบบมีความเสี่ยง ด้วยความห่วงใยจากทีมข่าวฯ ขอแนะนำให้ทุกท่านตรวจสอบข้อมูลให้แน่ใจก่อนการลงทุน จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่ประสงค์ดี ที่จ้องจะหาผลประโยชน์บนความทุกข์ร้อนของผู้อื่น

https://www.thairath.co.th/scoop/infographic/2819286


 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 21/10/2024
สถิติผู้เข้าชม1,800,474
Page Views2,067,034
« October 2024»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  
view